ธุรกิจส่วนตัว ควรมีเงินลงทุนเท่าไหร่

การเริ่มทำธุรกิจส่วนตัวนั้น ควรมีเงินแจกแจงไว้ลงทุนยังไงบ้างไปดูกันเลย

แชร์บทความ

สวัสดีครับ วันนี้ทุนแหลมทองจะมาช่วยตอบคำถามการทำธุรกิจส่วนตัวต้องใช้เงินทุนเท่าไหร่ แจกแจงยังไงบ้าง ซึ่งคำตอบนั้นคงจะขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจของคุณนั้นเป็นประเภทไหน

โดยก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจที่เราจะทำนั้น อยู่ในประเภทไหน ซึ่งเราสามารถแบ้งออกได้เป็น 3 ประเภท

1.ธุรกิจผลิต  เช่น ผลิตขนมขายส่ง , ผลิตเสื้อผ้า Brand ตัวเอง, เปิดร้านอาหาร

2.ธุรกิจซื้อมาขายไป เช่น ร้านขายของชำ , ร้านขายอุปกรณ์แต่งรถ, เสื้อผ้ามือสอง

3. ธุรกิจบริการ เช่น เปิดร้านสปา , อู่ซ่อมรถ, ร้านตัดผม

แน่นอนว่า รายจ่ายของธุรกิจแต่ละประเภทนั้น ย่อมมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีการทำธุรกิจแต่ละอย่างก็มีหลักลงทุนใหญ่ๆที่เหมือนกันอยู่ จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย!

เงินเดือนพนักงาน

เราต้องหันมามองว่า

1) รูปแบบธุรกิจเรานั้นต้องการพนักงานหรือไม่ (หากต้องการควรจะมีกี่คน)

2) เมื่อเรารู้จำนวนคร่าวๆแล้วเราก็กำหนดเงินเดือนของพนักงานในแต่ละหน้าที่ การกำหนดเงินเดือนนั้นไม่ควรน้อยจนไม่น่าดึงดูด และไม่ควรสูงเกินจนกำไรเราแทบไม่เหลือ เราสามารถดูพื้นฐานค่าแรงขั้นต่ำเป็นเกณฑ์ได้ และ เปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นที่ใกล้เคียงว่าเค้าเปิดรับพนักงานที่เงินเดือนเท่าไหร่

3) ข้อสำคัญคือคุณควรแบ่งเงินเดือนของตัวเองแยกให้ชัดเจนเหมือนเป็นพนักงานคนหนึ่ง ซึ่งเงินส่วนนี้ควรพอค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับรายได้ธุรกิจ เมื่อเราได้กำไรค่อยแบ่งสัดส่วนลงทุนและปันผล เพื่อง่ายต่อการจัดการบัญชีและวัดผลกำไรขาดทุน

ต้นทุนในการผลิต+ต้นทุนสินค้า

ในการจะผลิตสินค้า/บริการ คุณจะต้องคิดว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เช่น จะผลิตเก้าอี้ไม้ขาย ก็จะต้องมีอุปกรณ์ตัดไม้ , ค่าไม้สำหรับทำเก้าอี้ , อุปกรณ์ช่าง ,  ค่าขนส่ง , ค่าเช่าโกดัง เป็นต้น

แต่ในกรณีที่คุณทำธุรกิจบริการเช่น เปิดตัดผม ก็จะมีค่าใช้จ่ายเป็น เก้าอี้ตัดผม, แบตเตอเรี่ยน, กรรไกรตัดผม, เตียงสระผม, แชมพู, น้ำยาย้อมสีผม และอื่นๆ

ซึ่งคุณอาจต้องแยกค่าต้นทุนนี้เป็น 2 ส่วนคือ

1) ต้นทุนผันแปร ที่จะเพิ่มลดแล้วต่อวัน เช่น วัตถุดิบ, ค่าขนส่ง, ค่าน้ำมันนวด ที่หากลูกค้าเยอะ เดือนๆนั้น หรือสัปดาห์นั้นเราก็มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เยอะตามไปด้วย

2) ต้นทุนคงที่ สิ่งที่เราลงทนไปแล้วทีเดียว ไม่ขึ้นลงไปตาม การขาย เช่น เก้าอี้, โต๊ะ, ค่าตกแต่งเป็นต้น สิ่งเห่ลานี้หากเราจดบันทึกไว้แยกกันก็จะช่วยให้เราจัดการลงทุนในแต่ละเดือนได้ดีขึ้นไม่ให้บางทีลงทุนเยอะเกินความจำเป็นและทำกำไรได้มากขึ้น

ค่าสถานที่

 สถานที่ตั้งหรือทำเลเปรียบเสมือนจุดยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจซึ่งแต่ละธุรกิจก็จะมีทำเลทองของตัวเองต่างกันไป เช่น ร้านกาแฟ ตั้งอยู่ใกล้มหาลัย เด็กๆมหาลัยที่ชอบกินกาแฟ ถ่ายรูป หรือ หาสถานที่อ่านหนังสือ ก็จะเข้ามาใช้บริการเราซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดี เราสามารถช่าสถานที่, เซ้งหรือซื้อ แต่ในสถานการณ์โควิดเช่นนี้ การมีหน้าร้านอาจไม่ใช่เรื่องดีนัก จึงควรมองไปยังช่องทางอื่นๆ เช่น ออนไลน์หรือเน้น เดลิเวอรี่ให้คนโทรเข้ามาสั่งแทน

ค่าใช้จ่ายสำนักงาน

ได้แก่ค่าเฟอร์นิเจอร์, ค่า Internet,ค่าน้ำ , ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในสำนักงานที่เรานั่งทำงานหรือที่อยู่ในร้านหรือสถานที่ ที่เราทำงาน เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ของ ร้านอาหาร, ร้านสปา เป็นต้น

ค่าการตลาด + ประชาสัมพันธ์

ในการเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวค่าใช้จ่ายนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะว่าธุรกิจที่เพิ่งเปิดตัวใหม่จะต้องทำให้ลูกค้ารู้จักกับสินค้า/บริการ ของธุรกิจคุณ  ดังนั้นคุณควรที่จะกำหนดว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณเท่าไหร่เพื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ค่าโฆษณาใช้ใบปลิว 1000 ใบ , ค่าลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น , ค่าลงโฆษณาในเว็บไซต์ เป็นต้น

แหล่งเงินทุน

การเริ่มลงทุนในธุรกิจนั้นอาจต้องใช้เงินก้อนจำนวนหนึ่งซึ่งสามารถมาจาก แหล่งเงินทุนสะสมของตัวเองที่เก็บหอมรอมริบ หรือ การกู้ยืม ซึ่งสามารถกู้ผ่านธนาคาร หรือสถาบันการเงิน เช่นทุนแหลมทองได้

ซึ่งหากคุณเป็นเจ้าของที่ดินและมีที่ดินดีอยู่แล้ว สามารถมาขอกู้เงินสินเชื่อจดจำนองที่ดินจากทุนแหลมทองได้ง่ายๆ ขั้นตอนไม่เยอะเอกสารน้อย ดอกเบี้ยต่ำและถูกกฏหมาย เราไม่เช็คเครดิต/บูโร ด้วยนะ ลองส่งสมัครมาได้เลยทุกช่องทาง

อ้างอิง 

www.ThaiSMEfriend.com

Technology vector created by stories – www.freepik.com

Business vector created by freepik – www.freepik.com

People vector created by pikisuperstar – www.freepik.com

แชร์บทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาระจำยอมในที่ดิน

ภาระจำยอม ในที่ดิน ผู้เสียสละให้ที่ดินแปลงของตนเองเป็นบุญให้ที่ดินแปลงอื่นได้รับประโยชน์ มีสิทธิข้อควรรู้อะไรบ้าง

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า