สินเชื่อจำนองที่ดิน
สินเชื่อจำนองที่ดิน หมายถึง สัญญาที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าเป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้จำนอง โดยจะแบ่งเป็น 2 แบบด้วยกัน
1. เจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์เป็นผู้กู้เงินเองจะมีเจ้าของที่ดินผู้เดียวหรือ หลายคนได้
2. เจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจำนองให้ผู้อื่นเป็นประกันหนี้ซึ่งผู้กู้ เป็นผู้อื่น สามารถจำนองได้ (บริษัทอื่น ๆไม่เลือกวิธีนี้)
ตัวอย่างการทำสินเชื่อจำนองที่ดิน
ยกตัวอย่าง นาย A ได้ทำสัญญาจดจำนองที่ดินเพื่อกู้เงินจากสถาบันการเงินเป็นจำนวน 2 แสนบาท โดยนาย A ได้นำที่ดินของตนจำนวน 1 แปลงไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมพนักงานจากสถาบันการเงินเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 2 แสนบาท ที่นาย A ได้กู้ไปจากสถาบันการเงินโดยนาย A ไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่สถาบันการเงิน นาย A ยังคงมีสิทธิครอบครองใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติและยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามเดิมแต่ต้องมอบโฉนดที่ดินที่ใช้ประกันหนี้เงินกู้ให้กับสถาบันการเงินเก็บไว้
ถ้าชำระหนี้ไม่ทันเกิดอะไรขึ้น
ในกรณีที่ ลูกหนี้ของสินเชื่อจำนองที่ดิน ไม่สามารถชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ได้หรือมีการผิดสัญญาชำระหนี้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้รับจำนอง(บริษัท) จะเข้าไปยึดทรัพย์ที่ใช้ในการค้ำประกันหนี้เงินกู้ได้เลยทันที แต่จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ตั้งแต่การประกันหนี้เงินกู้ฟ้องร้องยื่นเรื่องกับศาล เพื่อให้ศาลออกคำสังบังคบให้ลูกหนี้นำหลักทรัพย์ไปขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดีและจากนั้นค่อยนำเงินที่ขายได้โดยกรมบังคับคดีมาชำระหนี้อีกที
การขายฝาก
การทำสัญญาขายฝากเป็นการทำสัญญากู้เงินที่ใช้หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์(หรือสังหาริมทรัพย์)โดยลูกหนี้จะทำการขายทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้ซึ่งต้องมีการโอนทรัพย์สินระหว่างกันก่อนแต่มีข้อตกลงเพิ่มเติมว่าลูกหนี้สามารถซื้อทรัพย์สินคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดกันไว้
การขายฝากกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่จดทะเบียนถ้าผู้ขายฝากต้องการได้กรรมสิทธิ์คืนต้องขอไถ่ถอนภายในกำหนดเวลาสัญญาขายฝากหรือสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่จากขายฝาก หากผู้ขายฝากไม่อาจใช้สิทธิ์ไถ่กับผู้ซื้อฝากได้ไม่ว่ากรณีใดอันมิใช่ความผิดของผู้ขายฝาก ผู้ขายฝากมีสิทธิ์วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาขายฝากต่อสำนักวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดทุกจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนขายฝากนั้น
ตัวอย่างขายฝาก
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ นาย A นำบ้านพร้อมที่ดิน ไปทำสัญญาขายฝากกับนาย B เป็นระยะเวลา 1 ปี นั่นหมายความว่า ถ้าภายใน 1 ปีหลังทำสัญญา นาย A ต้องซื้อบ้านพร้อมที่ดินคืน นาย B จะต้องขายคืนให้โดยไม่มีขอยกเว้น แต่หากพ้น 1 ปีไปแล้ว บ้านพร้อมที่ดินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย B ทันที ซึ่งนาย B จะนำทรัพย์สินไปดำเนินการอะไรก็ได้นั่นเอง
ถ้าชำระหนี้ไม่ทันเกิดอะไรขึ้น
ลูกหนี้ต้องมาไถ่ถอนภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลาตามกฎหมายสามารถขยายเวลาขายฝากกี่ครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงทั้งสองฝ่าย ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์ แต่หากไม่มีการขอต่อสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของเจ้าหนี้ทันที
สรุป
ขายฝาก | จำนองที่ดิน | |
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังทำสัญญา | โอนเป็นของผู้รับซื้อฝาก | ไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง |
การส่งมอบทรัพย์สิน | มี | ไม่มี |
ข้อตกลงในการไถ่ถอน/ไถ่ถอนจำนอง | มี | ไม่มี |
ระยะเวลาไถ่ทรัพย์ | กำหนด 10 ปี | ไม่มี |
การขยายกำหนดไถ่ทรัพย์ | มี แต่รวมแล้วไม่เกิน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญา | ไม่มีกำหนด |
การทำสัญญา | สำนักงานที่ดิน | สำนักงานที่ดิน |
สนในสมัครสินเชื่อจำนองที่ดิน
หากคุณมีความสนใจในการสมัครสินเชื่อจำนองที่ดิน ก็สามารถสมัครกับทางบริษัท ทุนแหลมทองได้ง่ายๆ ตอบโจทย์การให้บริการเงินก้อน เงินด่วน โดยเราให้วงเงินไม่จำกัด
ทุนแหลมทองยินดีบริการ สมัครเลยง่ายๆทุกขั้นตอน คลิก!